วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

4 การสร้างอักษรสี

การสร้างอักษรสี

5 การทำไฟล์ขยับโดยโปรแกรม Adobe Image Ready

การทำเป็นไฟล์ขยับโดยใช้โปรแกรม Adobe Image Ready  

     โปรแกรม Image Ready มันจะมาพร้อมกับ Photoshop  ใครที่มี Photoshop แล้วในเครื่อง ลองดูซิคะ ว่ามี Image Ready มาด้วยหรือเปล่า 

เปิดโปรแกรมขึ้นมา จะเห็นว่าหน้าตาจะคล้ายๆ Photoshop 

1. ไปที่ คำสั่ง File > Import > Folder as frames… จะขึ้นหน้าต่างเล็กๆ ให้เรา Browse for Folder ขึ้นมา ก็ให้เราตามหา Folder ที่เรา Save รูปไว้ หาเจอแล้วก็คลิ๊กเลือก OK เอามาทั้ง Folder เลย

2. จะได้หน้าต่าง 2 บานออกมาหน้าตาแบบนี้
นี่เป็นสาเหตุว่า ทำไมถึงต้อง Save ทุก Layer ใน Folder เดียวกัน และต้องตั้งชื่อเรียงตามลำดับตัวเลข เพราะเวลาเรา Import เราจะเอาเข้ามาทั้ง Folder แล้วโปรแกรมจะนำรูปมาเรียงเป็น Frame ให้ตามลำดับ

3. หน้าต่างบนลองกดปุ่ม Play ดูสิคะ จะเห็นว่ารูปมันจะวิ่งๆทีละ Frame รูปที่หน้าต่างบนก็จะกลายเป็นรูปขยับ แต่รูปมันวิ่งเร็วเราสามารถตั้งเวลาการเคลื่อน frameได้คะ ดูที่รูปด้านล่าง
 เวลาไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุก frame นะคะ จะตั้งเวลาเท่าไหร่ ก็อยู่ที่เราต้องการเลย แล้วก็เลือกด้วยว่าต้องการให้มัน Once หรือ Forever จิ๊บจะลอง ตั้งไว้ที่ 0.2 second ในแต่ละframe แล้วกด play ดู จะเห็นว่าตอนนี้รูปเปลี่ยนสีช้าลงกว่าตอนแรก

4. พอได้ออกมาตามต้องการแล้ว ก็ไปที่ File > Save Optimized ซะ เพื่อจัดการ Save งานของเรา แค่นี้เราก็ได้ ตัวหนังสือแบบเปลี่ยนสีแล้ว


2 การเปิดใช้งานโปรแกรม Illustrator CS3

การใช้งานโปรแกรม  Illustrator CS3

             การเปิดใช้งานโปรแกรม Illustrator CS3 หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรม Illustrator CS3 เรียบร้อยแล้วสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
        
1. คลิกคำสั่ง Start > All Program > Adobe Illustrator CS3 ดังภาพ



2. จะปรากฏหน้าต่างต้อนรับขึ้นมา เพื่อเลือกรูปแบบการทำงาน ดังภาพ



1 รู้จักโปรแกรม Illustrator CS3

รู้จักโปรแกรม Illustrator CS3




       โปรแกรม Illustrator เป็นโปรแกรมที่ทำงานด้านกราฟิกชนิดหนึ่ง ซึ่งเน้นการสร้างงานจากการวาดจุดเด่น ของโปรแกรมนี้คือ สามารถสร้างภาพลายเส้นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำลายเส้นที่วาดมาดัด แก้ไข ตกแต่งได้ง่าย สามารถนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสิ่งพิมพ์ งานออกแบบโลโก้ หรือทำภาพประกอบในหนังสือและเว็บไซต์ สร้างลายเส้น สำหรับใช้ในงานโปรแกรมสามมิติ หรือโปรแกรมตกแต่งภาพอื่น ๆ เป็นต้นภาพที่ใช้งานใน
โปรแกรมกราฟิกจะแบ่งออกตามลักษณะใช้งานสองประเภท คือภาพกราฟิกแบบ Vector และภาพแบบ Bitmap ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมในการจัดเก็บ การแก้ไขและการนำกลับไปใช้งานอีกครั้งสำหรับภาพกราฟิกทั้งสองชนิดจะมีความแตกต่างกันดังนี้ภาพแบบ Bitmap หรือ Rasterเป็นภาพที่เกิดจากเม็ดสีเล็ก ๆ ประกอบมาเป็นภาพใหญ่ ๆ ที่เรามองเห็นกัน จุดเล็กหนึ่งจุดจะบรรจุด้วยหนึ่งสี เราเรียกจุดสีนี้ว่าจุด Pixel รูปภาพหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยจุด Pixel เป็น ล้าน ๆ จุด ยิ่งจำนวนมากจะทำให้ภาพมีความละเอียดสวยงามซึ่งจะทำให้กินเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมากจุดเด่นของภาพแบบ Bitmap ก็คือได้ภาพสวยสีสันสดใส สมจริงมากจุดด้อยของภาพแบบ Bitmap นี้คือ เมื่อนำภาพมาขยายใหญ่มาก ๆ ภาพหยาบไม่คมชัดเหมือนภาพต้นแบบ โปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไปจะทำงานกับภาพ Bitmap เช่น โปรแกรม Adobe Photoshop, Paint เป็นต้น และจะถูกบันทึกไว้ในไฟล์นามสกุล BMP, GIF, JPG, TIFF เป็นต้น เหมาะสำหรับไฟล์ภาพถ่ายไฟล์ภาพเหมือนจริงต่าง ๆ ภาพแบบ Vectorเป็นภาพที่เกิดจากเส้นตรง เส้นโค้ง และสีต่างๆ ซึ่งถูกบรรจุเอาไว้ในลักษณะสมการทางคณิตศาสตร์ใช้กันมากในงานประเภทที่ต้องการความแม่นยำ และความละเอียดสูง เช่น การออกแบบโลโก้ สร้างภาพสามมิติ การสร้างภาพทางวิศวกรรม สร้างภาพ Clip Artเนื่องจากงานดังกล่าวจะถูกปรับย่อ- ขยายบ่อย ๆ จุดเด่นของภาพแบบ Vector คือภาพคมชัด เม็ดสีไม่แตกเมื่อเกิดการปรับย่อ – ซ้ำ ๆ จุดด้อยของภาพแบบ Vector คือ ภาพที่ได้ไม่สมจริงจะเหมาะกับงานที่เป็นกราฟิกมากกว่าสร้างภาพเหมือนจริง โปรแกรมที่ทำงานกับภาพกราฟิกแบบ Vector มีอยู่หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรม Illustrator, Flash , 3d Studio max เป็นต้น และจะถูกบันทึกเอาไว้ในไฟล์นามสกุล Al , SWF , EPSเป็นต้น

3 ส่วนประกอบของ Illustrator CS3

การใช้งานโปรแกรม  Illustrator CS3

ส่วนประกอบของ Illustrator CS3 ประกอบไปด้วย

1.Menu Bar เป็นที่อยู่ของชุดคำสั่งลักษณะต่างๆ ทุกรูปแบบ ตั้งแต่การเปิด-ปิด สร้างเอกสารใหม่ แก้ไข
เปลี่ยนแปลง บันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งสำหรับพิมพ์ และวาดภาพทั้งหมด

2.คอนโทล พาเนล ( Control Panel ) เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่
ซึ่งรายละเอียดของคอนโทรลพาเนลจะเปลี่ยนไปตามการเลือกใช้เครื่องมือ เช่น เลือกเครื่องมือเพื่อพิมพ์
ตัวอักษรก็จะแสดงคุณสมบัติของการจัดการตัวอักษร

3.กล่องเครื่องมือ ( Tools box ) เป็นกล่องที่เก็บรวบรวมเครื่องมือสำหรับการทำงาน โดยจะแบ่งออก
ตามลักษณะการทำงานโดยสามารถเรียกใช้จากการกดที่ปุ่มสามเหลี่ยมด้านมุมขวาล่าง เช่น เครื่องมือกลุ่ม Shape ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องมือวาดรูปทรงแบบสี่เหลี่ยม, สี่เหลี่ยมมุมโค้ง, และวงกลม เป็นต้น
การเปิด/ปิดกล่องเครื่องมือ ใช้คำสั่ง Windows > Tools

4.พาเลท ( Palate ) กรอบหน้าต่างย่อย ทีมีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบค่าและปรับแต่ง
องค์ประกอบต่างๆของวัตถุ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ การเปิดใช้งานพาเลท
ใช้คำสั่ง Windows > ตามด้วยชื่อพาเลทที่ต้องการใช้งาน

5.พื้นที่การทำงาน ( Artboard ) มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดำใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างและปรับแต่งภาพจะมีขนาดตามที่กำหนดไว้ตอนที่เราสร้างไฟล์

6.แถบสถานะ ( Status ) มีหน้าที่ในการย่อขยายและแสดงอัตราส่วนในการแสดงภาพ Slice tool ใช้เกี่ยวกับการตัดแบ่งรูปเป็นส่วนๆสำหรับงานสร้างเว็บไซต์

กล่องเครื่องมือ ( Tool Box ) ของ Illustrator CS3 ประกอบไปด้วย เครื่องมือใน Illustrator CS3 แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มในแต่ละกลุ่มจะแบ่งย่อยออกไปอีกสังเกตได้จาก เครื่องมือที่มีเครื่องมือย่อยจะมีรูปสามเหลี่ยมเล็กๆที่มุมล่างขวาการเรียกใช้เครื่องมือย่อยสามารถทำได้โดยคลิกเมาส์ค้างไว้ที่เครื่องมือที่ต้องการ หากไม่มีเครื่องมือนี้แสดงอยู่ในหน้าจอโปรแกรมให้เปิดขึ้นมาทำงานโดย
คลิกที่เมนู Window > Tool

Selection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ


Selection tool(ลูกศรสีดำ)ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น Magic wand tool เป็นเครื่องมือใช้เลือกวัตถุ
ที่มีสีเดียวกัน การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift)

Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์ Drag การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift)

Pen tool สร้างเส้น parth อย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curvedไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ Alt)

Type tool ใช้พิมตัวหนังสือ ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือ ย่อย ก็ง่ายๆตามรูป ใช้พิมพ์ตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบบ้าง ทำตัวอักษรวิ่งตาม path

Create tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects

ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวหนังสือ


Line segment tool อันนี้ไว้ลากเส้นตรง ในรายละเอียดของเครื่องมือย่อย เช่น ไว้ทำขดก้นหอย
ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม

Basic shape tool เอาไว้วาดรูปทรงพื้นฐาน 3-4-หลายเหลี่ยม และวงกลม shape รูปดาว แต่ที่เด่น
ที่สุดคือflare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)


Paintbrush tool แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น parthโดยการdrag เมาส์ลากอย่างอิสระ สามารถใช้ brush แบบพิเศษ(กดคีย์ Alt)

Pencil tool จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข และทำให้งานดูดี เร็วขึ้น(กดคีย์ Alt)

Transform tool เครื่องมือกลุ่มที่ใช้ในการปรับแต่งรูปทรง

ของวัตถุ หมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย


Rotate tool ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนด
ได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา(กดคีย์ Alt)

Reflect tool ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ Alt)

Scale tool ปลับย่อขยายวัตถุ (กดคีย์ Alt และ Shift)Shear tool ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt) Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ

The warp tool   ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift) 
Twirl tool          ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กำหนด(กดคีย์ Alt หรือShift และ Alt+Shift) 
Pucker tool       ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง (กดคีย์ Altหรือ Shift และ Alt+Shift) 
Bloat tool         ทำให้วัตถุแบออก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และAlt+Shift) 
Scallop tool      ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Crystallize tool ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ
Alt+Shift) 
Wrinkle tool      สร้างคลื่นให้วัตถุ (กดคีย์ Alt หรือShift และ Alt+Shift)

Special tool   เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ Symbol

และ graph

Free transform tool ย่อ ขยาย หมุน เอียง วัตถุ โดยอิสระ 
Symbol tool ใช้จัดการเกี่ยวกับ symbol ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย เครื่องมือแต่ละชิ้นมี
ไอคอนที่ง่ายต่อการเข้าใจ(กดคีย์ Alt)

Graph tool ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ( กดคีย์ Alt หรือ Shift และAlt+Shift)


Paint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี

Mesh tool เป็นเครื่องมือสีที่สร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ Alt และ Shift)

Gradient tool เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ Shift)

Eyedropper tool หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารถกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ Alt และ Alt+Shift) Measure tool เครื่องมือวัดขนาด (กดคีย์ Shift)

lend tool เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ 3 ชนิด

Live Paint Bucket Tool ใช้เทสีลงในวัตถุ

Live Paint Selection Tool ใช้กำหนดสีให้กับพื้นที่ของPath Object ที่ได้เลือก

View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก

Scissors tool ใช้คลิกบริเวณ outine ของวัตถุเพื่อกำหนดจุดตัด 2 จุดเพื่อแยกวัตถุออกจากกัน
(กดคีย์ Alt)Knife tool ใช้ drag ลากผ่านวัตถุเพื่อแยกวัตถุออกจากกันเป็น 2 ส่วน โดยจะทำการ close paths ให้เราโดยอัตโนมัติ (กดคีย์ Alt)

Hand tool ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทำงานบนหน้าจอ (กดคีย์ Spacebar)Page tool ใช้กำหนด print size

Zoom tool ใช้ย่อ และ ขยายพื้นที่การทำงาน (กดคีย์ Ctrl+Spacebar และ Ctrl+Alt+Spacebar)

Fill and Stroke ใช้กำหนดสีของวัตถุและเส้น Path

12 อ้างอิง

ขอขอบคุณ

http://kennakub009.blogspot.com

11 การวาดภาพล้อเลียด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator

การวาดภาพล้อเลียด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator